top of page
รูปภาพนักเขียนVALENTINE

Keyframe 5 ประเภท สำหรับผู้เริ่มต้นงาน Motion Graphic

อัปเดตเมื่อ 2 มิ.ย. 2566

“ลูกบอลตกจากที่สูงในแนวดิ่ง ตั้กแตนกระโดดจากหินก้อนนึงไปยังอีกก้อนหนึ่ง ขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูงแล้วเบรคกระทันหัน” ทุกสิ่งบนโลกนี้ล้วนมีการเคลื่อนไหวหลากหลายรูปแบบ และการทำโมชั่นกราฟิกก็เช่นกันครับ เมื่อพูดถึงการทำโมชั่นกราฟิก การเคลื่อนไหวของ Object ต่าง ๆ ใน Comp นั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่ทำให้งานโมชั่นมีความสมบูรณ์มากขึ้นครับ



สำหรับผู้เริ่มต้นออกแบบงาน Motion Graphic นอกจาก Graphic หรือ Object ที่สวยงามแล้ว รูปแบบ Keyframe นั้นก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเลยครับ ในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับ keyframe 5 ประเภท สำหรับงาน Motion Graphic กันครับ


 

ก่อนจะไปเริ่มต้นใช้งาน เรามาทำความรู้จักกับ Keyframe กันก่อนว่าคืออะไร



Keyframe คือช่องสำหรับกำหนดค่า เพื่อสร้างความเคลื่อนไหวในแต่ละช่วงเวลาให้กับ Object นั้นๆ จำเป็นต้องมีคีย์เริ่มต้น และคีย์สิ้นสุดครับ



1. LINEAR KEYFRAMES


การใช้งาน : LINEAR KEYFRAMES เป็นค่าเริ่มต้นสำหรับการแอนิเมชัน มักใช้กับการเคลื่อนไหวของ

Object ที่เราต้องการให้มีความเร็วต้นและปลายคงที่สม่ำเสมอ เช่นตัวอย่าง


( การใช้งาน LINEAR KEYFRAMES )


จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าความเร็วของรถนั้นคงที่จากจุดเริ่มต้นไปจนจบ ดังนั้น LINEAR KEYFRAMES อาจจะไม่เหมาะกับการใช้แอนิเมทการเคลื่อนไหวของรถในตัวอย่างนี้ แต่เหมาะสำหรับการเคลื่อนไหวของรถที่เริ่มต้นจากจุดเริ่มต้นสักระยะหนึ่งแล้ว


 

2. EASY EASE IN KEYFRAMES


การใช้งาน : EASY EASE IN มักใช้กับ Object ที่ต้องการให้ความเร็วปลายช้า แต่ความเร็วต้นยังคง สม่ำเสมอ



( การใช้งาน EASY EASE IN )


จะเห็นได้ว่าความเร็วของรถจากจุดเริ่มต้นไปจนจบ มีความเปลี่ยนแปลงความเร็วตอนท้ายให้ช้าลงไปจนจบ ดังนั้นจากตัวอย่าง EASY EASE IN จึงเหมาะกับการใช้กรณีที่รถกำลังจะจอดหรือเบรค


 

3. EASY EASE OUT KEYFRAMES


การใช้งาน : EASY EASE OUT มักใช้กับ Object ที่ต้องการให้ความเร็วต้นช้า แต่ความเร็วปลายยัง คงสม่ำเสมอ


( การใช้งาน EASY EASE OUT )


จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าความเร็วของรถจากจุดเริ่มต้นไปจนจบ มีความเปลี่ยนแปลงความเร็วเริ่มต้นให้ช้าลงแต่จะเริ่มเร็วคงที่ไปจนจบ ดังนั้นจากตัวอย่าง EASY EASE OUT จึงเหมาะกับการใชกรณีที่รถกำลังจะล้อหมุนนั่นเองครับ


 

4. EASY EASE KEYFRAMES / BEZIER KEYFRAMES


การใช้งาน : EASY EASE มักใช้กับ Object ที่ต้องการให้ความเร็วต้นและปลายให้ช้า แต่ความเร็ว กลางยังคงสม่ำเสมอ


( การใช้งาน EASY EASE )


จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าความเร็วของรถจากจุดเริ่มต้นไปจนจบ มีความเปลี่ยนแปลงความเร็วเริ่มต้นให้ช้าลงแต่ความเร็วกลางคงที่และจบลงด้วยความเร็วที่ช้าลงอีกครั้งครับ ดังนั้นจากตัวอย่าง EASY EASE จึงเหมาะกับการใช้กรณีที่รถกำลังติดไฟแดงและพอไฟเขียวก็เคลื่อนรถไปข้างหน้าและติดไปแดงอีกรอบครับ


 

5. HOLD KEYFRAMES


การใช้งาน : HOLD KEYFRAMES มักใช้กับ Object ที่ต้องการให้หยุดการเคลื่อนไหว ตัวอย่างการใช้ งานเช่น


( การใช้งาน HOLD KEYFRAMES )


การใช้ HOLD KEYFRAMES นั้นใช้สามารถใช้ร่วมกับ keyframe ประเภทอื่นๆ ได้ดี จากตัวอย่างจะเห็นว่า เพียงเราหยุด keyframe การเคลื่อนไหวที่ถูกที่ เพียง Object เดียวก็สามารถทำให้เหมือนกับรถกำลังสัญจรไปมาได้เลยครับ

 


นอกจาก Keyframe 5 ประเภท ข้างต้นนี้แล้ว ยังมี keyframe อีกบางประเภทที่เราไม่ได้พูดถึงกันในบทความนี้ครับ แต่อย่างไรก็ดีจะเห็นได้ว่า keyframe แต่ละประเภทนั้นใช้แตกต่างกันและก็ไม่ได้ตายตัวที่จะใช้ตาม object นั้นเป้ะๆครับและสามารถใช้ร่วมกันได้กับอีก keyframe นึงด้วย หากเราใช้อย่างเหมาะสมและชำนาญก็ทำให้เราได้งานโมชั่นที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นอย่างแน่นอนครับ สวัสดีครับ

 

#motiongraphic #เทคนิคโมชั่น #ประเภทkeyframe #เริ่มต้นงานโมชั่น #โมชั่นมือใหม่


Comments


bottom of page